วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรม


วัฒนธรรม
วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่นวัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม
วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอด

ประเภทของวัฒนธรรม


ประเภทของวัฒนธรรม
วัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
§  วัฒนธรรมทางวัตถุ คือ เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อความสุขทางกาย อันได้แก่ ยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย ตลอดจนเครื่องป้องกันตัวให้รอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง
§  วัฒนธรรมทางจิตใจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ เพื่อให้เกิดปัญญาและมีจิตใจที่งดงาม อันได้แก่ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม คติธรรม ตลอดจนศิลปะ วรรณคดี และระเบียบแบบแผนของขนบธรรมเนียมประเพณี[1]
นักมานุษยวิทยาส่วนใหญ่มักใช้คำ "วัฒนธรรม" ไปในเชิงของวิสัยสามารถของคนทั่วไปในการบ่งชี้ จัดหมวดหมู่และสื่อถึงประสบการณ์ของตนในลักษณะเชิงสัญลักษณ์ คนเราใช้วิสัยสามารถดังกล่าวสำหรับบ่งชี้เรื่องราวและสิ่งต่างๆ ที่เกิดในหมู่มนุษย์ด้วยกันมานานมากแล้ว อย่างไรก็ตาม นักวานรวิทยาหรือไพรเมตวิทยาก็ได้บ่งชี้ลักษณะวัฒนธรรมดังกล่าวในวานรหรือไพรเมตซึ่งเป็นกลุ่มสัตว์ที่มีสายพันธุ์ใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุดมานานแล้วเช่นกัน[2] และโดยนักโบราณคดีจะมุ่งเฉพาะไปที่วัฒนธรรมที่เป็นเรื่องราวเท่านั้น (ซากเรื่องราวที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์) ขณะเดียวกัน นักมานุษยวิทยาสังคมก็มองไปที่ปฏิสัมพันธ์ของสังคม สถานภาพและสถาบัน ส่วนนักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมก็เน้นที่บรรทัดฐานและคุณค่า
การแบ่งแยกแนวกันนี้ แสดงให้เห็นถึงเงื่อนไขที่แตกต่างกันที่ขึ้นอยู่กับงานที่ต่างกันของนักมานุษยวิทยา และความจำเป็นที่จะต้องมุ่งเน้นจุดการวิจัยที่ต้องชัดเจน จึงไม่จำเป็นว่าจะเป็นการสะท้อนถึงทฤษฎีของวัฒนธรรมซึ่งย่อมแตกต่างไปตามเชิงของเรื่องราว เชิงสังคม และเชิงบรรทัดฐาน (norm) รวมทั้ง ไม่จำเป็นต้องสะท้อนถึงการแข่งขันกันเองในระหว่างทฤษฎีต่าง ๆ ของวัฒนธรรม

วัฒนธรรมภาคกลาง(เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย)


วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย
ชานกว้าง เมื่อมองดูแปลนของเรือนไทยทั่วไป จะเห็นพื้นที่ของชานกว้างมาก ที่มีปริมาณถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด (ห้องระเบียงชาน) ถ้ารวมพื้นที่ของระเบียงเข้าไปด้วย จะมีปริมาณถึงร้อยละ 60 พื้นที่นี้ เป็นส่วนอาศัยภายนอก ส่วนที่อาศัยหลับนอนมีฝากั้นเป็นห้อง มีเนื้อที่เพียงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด สาเหตุที่พื้นที่อยู่อาศัยภายนอกมีปริมาณมาก เพราะดินฟ้าอากาศร้อนอบอ้าวนั่นเอง
      เรือนครอบครัวขยาย โดยที่สรุปแล้วแผนผังของเรือนครอบครัวขยายมี 3 แบบ คือ
- จะปลูกเรียงเป็นแถวไปตามยาวต่อจากเรือนของพ่อแม่
- จะจัดวางตัวเรือนเป็นกลุ่ม ที่มีชานเชื่อมตรงกลาง ชานที่เชื่อมนี้เปิดโล่งไม่มีหลังคาคลุม
- ปลูกเรือนขึ้นใหม่อยู่ในบริเวณใกล้ๆ เป็นหลังๆ ที่ไม่มีชานเชื่อม

เรือนคหบดี   เป็นเรือนของผู้ที่มีฐานะ เจ้าของตั้งใจสร้างขึ้นให้มีขนาดใหญ่โต หรูหรา เห็นได้ชัดเจนจาก การวางผัง
เรือนร้านค้าริมน้ำ เป็นเรือนที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นร้านค้าขาย รวมทั้งกินอยู่หลับ นอน ฉะนั้นประโยชน์ใช้สอยจึงต่างกับเรือนพักอาศัยทั่วไป เรือนแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหน้าเปิดเป็นร้านค้ามีที่สำหรับวางสินค้า ส่วนหลังเป็นที่อยู่อาศัย
เรือนร้านค้าริมทาง เรือนร้านค้าริมทางเป็นเรือนที่สร้างขึ้น เพื่อประโยชน์ ทางการค้า และใช้พักอาศัยไปในตัว มีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับเรือนร้านค้าริม น้ำ การขนส่งใช้เกวียนเป็นพาหนะ
เรือนตำหนัก เป็นเรือนสำหรับเชื้อพระวงศ์หรือเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ มีขนาด ใหญ่ หลายช่วงเสา ลักษณะคล้ายกุฏิสงฆ์ ซึ่งนำมารวมกันจำนวน 6-9 ห้อง ฝาลูกปะกน มีสัดส่วนใหญ่โตกว่าเรือนธรรมดา ลบมุมลูกตั้งลูกนอน ด้านหน้า เป็นระเบียง มุมสุดหัวท้ายของระเบียงกั้นเป็นห้องน้ำ ห้องส้วมและห้องเก็บ ของ ระเบียงนี้เรียกว่า "พะไล" ถ้าเจ้าของเรือนเป็นเชื้อพระวงศก็์จะมีช่อฟ้าใบ ระกาประดับปลายหลังคา ด้านหน้าจั่ว

กุฏิสงฆ์ เป็นเรือนพักอาศัยชนิดหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ ลักษณะคล้ายเรือนทั้งหลายที่กล่าวมา กุฏิบางหลัง เป็นเรือนของชาวบ้านรื้อมาถวาย เพราะเป็นเรือนของบิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่ออุทิศส่วนกุศลผลบุญ ไปให้ แต่กุฏิสงฆ์ทั่วไปนั้นมีลักษณะมากมายหลายแบบ
เรือนแพ  คือร้านค้าริมน้ำที่ลอยน้ำเคลื่อนที่ไปมาได้ รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยหลับนอน มีลักษณะเหมือนเรือน
ไทยแฝด หลังในเป็นที่พักผ่อนหลับนอน ส่วนหลังนอกเป็นร้านค้า มีฝาหน้าถังปิดเปิด ด้านหน้าเป็นระเบียง
ติดกับน้ำ บางหลังมีระเบียงรอบตัวเรือน มี 2 ชนิด คือ
ใช้ไม้ไผ่ผูกรวมกันเป็นแพ เรียกว่า แพลูกบวบ
ใช้ไม้จริงต่อเป็นแพสี่เหลี่ยมยาว เรียกว่า โป๊ะ มีโครงอยู่ภายใน ลักษณะคล้ายเรืออุดยาด้วยชันผสม
น้ำมันยาน ติดต่อกัน 3-5โป๊ะต่อเรือน 1 หลัง แพทั้งสองแบบนี้ ต้องซ่อมแซมทุกปี
    ผู้คนส่วนหนึ่งนิยมสร้างเรือนแพอยู่ในน้ำ ส่วนใหญ่ใช้เป็นร้านค้าสร้างเป็นเรือนแพทรงไทย การยึดติด
ของตัวไม้ไม่แน่น ให้ทุกจุดขยับได้เล็กน้อย เหมาะกับการอยู่ในน้ำที่มีคลื่น ด้านล่างของตัวเรือนเป็นแพ