วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ผู้จัดทำ

54008767  นางสาวนริศา  จันทเณร
54008863  นางสาวสิริวิมล  เจตอารีทรัพย์
Sec 08



วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรม


วัฒนธรรม
วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่นวัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม
วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอด

ประเภทของวัฒนธรรม


ประเภทของวัฒนธรรม
วัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
§  วัฒนธรรมทางวัตถุ คือ เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อความสุขทางกาย อันได้แก่ ยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย ตลอดจนเครื่องป้องกันตัวให้รอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง
§  วัฒนธรรมทางจิตใจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ เพื่อให้เกิดปัญญาและมีจิตใจที่งดงาม อันได้แก่ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม คติธรรม ตลอดจนศิลปะ วรรณคดี และระเบียบแบบแผนของขนบธรรมเนียมประเพณี[1]
นักมานุษยวิทยาส่วนใหญ่มักใช้คำ "วัฒนธรรม" ไปในเชิงของวิสัยสามารถของคนทั่วไปในการบ่งชี้ จัดหมวดหมู่และสื่อถึงประสบการณ์ของตนในลักษณะเชิงสัญลักษณ์ คนเราใช้วิสัยสามารถดังกล่าวสำหรับบ่งชี้เรื่องราวและสิ่งต่างๆ ที่เกิดในหมู่มนุษย์ด้วยกันมานานมากแล้ว อย่างไรก็ตาม นักวานรวิทยาหรือไพรเมตวิทยาก็ได้บ่งชี้ลักษณะวัฒนธรรมดังกล่าวในวานรหรือไพรเมตซึ่งเป็นกลุ่มสัตว์ที่มีสายพันธุ์ใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุดมานานแล้วเช่นกัน[2] และโดยนักโบราณคดีจะมุ่งเฉพาะไปที่วัฒนธรรมที่เป็นเรื่องราวเท่านั้น (ซากเรื่องราวที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์) ขณะเดียวกัน นักมานุษยวิทยาสังคมก็มองไปที่ปฏิสัมพันธ์ของสังคม สถานภาพและสถาบัน ส่วนนักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมก็เน้นที่บรรทัดฐานและคุณค่า
การแบ่งแยกแนวกันนี้ แสดงให้เห็นถึงเงื่อนไขที่แตกต่างกันที่ขึ้นอยู่กับงานที่ต่างกันของนักมานุษยวิทยา และความจำเป็นที่จะต้องมุ่งเน้นจุดการวิจัยที่ต้องชัดเจน จึงไม่จำเป็นว่าจะเป็นการสะท้อนถึงทฤษฎีของวัฒนธรรมซึ่งย่อมแตกต่างไปตามเชิงของเรื่องราว เชิงสังคม และเชิงบรรทัดฐาน (norm) รวมทั้ง ไม่จำเป็นต้องสะท้อนถึงการแข่งขันกันเองในระหว่างทฤษฎีต่าง ๆ ของวัฒนธรรม

วัฒนธรรมภาคกลาง(เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย)


วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย
ชานกว้าง เมื่อมองดูแปลนของเรือนไทยทั่วไป จะเห็นพื้นที่ของชานกว้างมาก ที่มีปริมาณถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด (ห้องระเบียงชาน) ถ้ารวมพื้นที่ของระเบียงเข้าไปด้วย จะมีปริมาณถึงร้อยละ 60 พื้นที่นี้ เป็นส่วนอาศัยภายนอก ส่วนที่อาศัยหลับนอนมีฝากั้นเป็นห้อง มีเนื้อที่เพียงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด สาเหตุที่พื้นที่อยู่อาศัยภายนอกมีปริมาณมาก เพราะดินฟ้าอากาศร้อนอบอ้าวนั่นเอง
      เรือนครอบครัวขยาย โดยที่สรุปแล้วแผนผังของเรือนครอบครัวขยายมี 3 แบบ คือ
- จะปลูกเรียงเป็นแถวไปตามยาวต่อจากเรือนของพ่อแม่
- จะจัดวางตัวเรือนเป็นกลุ่ม ที่มีชานเชื่อมตรงกลาง ชานที่เชื่อมนี้เปิดโล่งไม่มีหลังคาคลุม
- ปลูกเรือนขึ้นใหม่อยู่ในบริเวณใกล้ๆ เป็นหลังๆ ที่ไม่มีชานเชื่อม

เรือนคหบดี   เป็นเรือนของผู้ที่มีฐานะ เจ้าของตั้งใจสร้างขึ้นให้มีขนาดใหญ่โต หรูหรา เห็นได้ชัดเจนจาก การวางผัง
เรือนร้านค้าริมน้ำ เป็นเรือนที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นร้านค้าขาย รวมทั้งกินอยู่หลับ นอน ฉะนั้นประโยชน์ใช้สอยจึงต่างกับเรือนพักอาศัยทั่วไป เรือนแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหน้าเปิดเป็นร้านค้ามีที่สำหรับวางสินค้า ส่วนหลังเป็นที่อยู่อาศัย
เรือนร้านค้าริมทาง เรือนร้านค้าริมทางเป็นเรือนที่สร้างขึ้น เพื่อประโยชน์ ทางการค้า และใช้พักอาศัยไปในตัว มีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับเรือนร้านค้าริม น้ำ การขนส่งใช้เกวียนเป็นพาหนะ
เรือนตำหนัก เป็นเรือนสำหรับเชื้อพระวงศ์หรือเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ มีขนาด ใหญ่ หลายช่วงเสา ลักษณะคล้ายกุฏิสงฆ์ ซึ่งนำมารวมกันจำนวน 6-9 ห้อง ฝาลูกปะกน มีสัดส่วนใหญ่โตกว่าเรือนธรรมดา ลบมุมลูกตั้งลูกนอน ด้านหน้า เป็นระเบียง มุมสุดหัวท้ายของระเบียงกั้นเป็นห้องน้ำ ห้องส้วมและห้องเก็บ ของ ระเบียงนี้เรียกว่า "พะไล" ถ้าเจ้าของเรือนเป็นเชื้อพระวงศก็์จะมีช่อฟ้าใบ ระกาประดับปลายหลังคา ด้านหน้าจั่ว

กุฏิสงฆ์ เป็นเรือนพักอาศัยชนิดหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ ลักษณะคล้ายเรือนทั้งหลายที่กล่าวมา กุฏิบางหลัง เป็นเรือนของชาวบ้านรื้อมาถวาย เพราะเป็นเรือนของบิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่ออุทิศส่วนกุศลผลบุญ ไปให้ แต่กุฏิสงฆ์ทั่วไปนั้นมีลักษณะมากมายหลายแบบ
เรือนแพ  คือร้านค้าริมน้ำที่ลอยน้ำเคลื่อนที่ไปมาได้ รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยหลับนอน มีลักษณะเหมือนเรือน
ไทยแฝด หลังในเป็นที่พักผ่อนหลับนอน ส่วนหลังนอกเป็นร้านค้า มีฝาหน้าถังปิดเปิด ด้านหน้าเป็นระเบียง
ติดกับน้ำ บางหลังมีระเบียงรอบตัวเรือน มี 2 ชนิด คือ
ใช้ไม้ไผ่ผูกรวมกันเป็นแพ เรียกว่า แพลูกบวบ
ใช้ไม้จริงต่อเป็นแพสี่เหลี่ยมยาว เรียกว่า โป๊ะ มีโครงอยู่ภายใน ลักษณะคล้ายเรืออุดยาด้วยชันผสม
น้ำมันยาน ติดต่อกัน 3-5โป๊ะต่อเรือน 1 หลัง แพทั้งสองแบบนี้ ต้องซ่อมแซมทุกปี
    ผู้คนส่วนหนึ่งนิยมสร้างเรือนแพอยู่ในน้ำ ส่วนใหญ่ใช้เป็นร้านค้าสร้างเป็นเรือนแพทรงไทย การยึดติด
ของตัวไม้ไม่แน่น ให้ทุกจุดขยับได้เล็กน้อย เหมาะกับการอยู่ในน้ำที่มีคลื่น ด้านล่างของตัวเรือนเป็นแพ


วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมภาคเหนือ(เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย)


วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย


ลักษณะเด่นชัดในทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชุมชนในภาคเหนือ ที่ไม่เหมือนกับภาคอื่นๆ ก็ คือ บรรดาชุมชนหมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ในหุบเขาเดียวกันนั้น จะต้องมี ความสัมพันธ์กันทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด จึง จะอยู่ร่วมกันได้ สิ่งนี้แลเห็นได้จากการร่วมมือกันในการทำให้มีการ ชลประทาน เหมืองฝายขึ้น นั่นก็คือแต่ละชุมชนจะต้องมาร่วมกันทำ ฝายหรือเขื่อนกั้นน้ำ และขุดลอกลำเหมืองเพื่อระบาย น้ำจากฝายที่ กั้นลำน้ำไปเลี้ยงที่นาของแต่ละชุมชน ทั้งนี้เป็นเพราะในแต่ละหุบ เขานั้น ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ลาดลงสู่บริเวณที่เป็นแอ่งตอน กลางที่มีลำน้ำไหลผ่าน ลำน้ำดังกล่าวนี้เกิดจากลำธาร หรือลำน้ำ สาขาที่ไหลลงจากที่สูงทั้งสองข้างหุบเขามาสมทบด้วย จำนวนลำ น้ำเหล่านี้มีจำกัดไม่เพียงพอแก่การเพาะปลูกของผู้คนทั่วไป จึงจำ เป็นต้องทำฝายทดน้ำและขุดเหมืองจากบริเวณลำน้ำหรือธารน้ำนั้น เข้าไปเลี้ยงที่นาและเพื่อการใช้น้ำของ ชุมชน จึงต้องมีการออกแรงร่วมกัน เกิดมีกฎเกณฑ์และแบบแผนในการร่วมแรงกันทำเหมืองฝายมาแต่ โบราณ จึงเป็นกิจกรรมที่กษัตริย์เจ้าเมืองหรือนายบ้าน จะต้องคอยควบคุมดูแลให้มีการร่วมมือกัน และลง โทษผู้ที่ไม่ร่วมมือแต่ทว่าลักน้ำขโมยน้ำจากผู้อื่น จึงเกิดมีกฎหมายโบราณขึ้นที่เรียกว่า "กฎหมายมังราย"เชื่อว่าพญามังรายผู้สร้างแคว้นล้านนาเป็นผู้บัญญัติขึ้นที่อยู่อาศัย วัฒนธรรมประเพณี สภาพดินฟ้าอากาศ มีส่วนกำหนดลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้คน บ้านเรือน ในภาคเหนือ นิยมสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นสอดคล้องกับวิถีชีวิต ตัวเรือนมีขนาดเล็กใต้ถุน สูง หลังคาทรงจั่ว ประดับยอดหลังคาด้วยไม้แกะสลักไขว้กัน เรียกว่า "กาแล" ชาวเหนือที่มีฐานะดีจะอยู่ เรือนที่ค่อนข้างมีขนาดใหญ่และประณีตมากขึ้น
บ้านภาคเหนือ

กาแล คือ ไม้ประดับยอดจั่วหลังคาของบ้านล้านนาภาคเหนือ
ของเรา มีประวัติและความเป็นมาหลาก หลายอย่าง แต่หากพิจาร ณาในเชิงช่างแล้ว กาแลนี้เป็นตัวกันไม่ ให้ อีกาหรือนกทั่วไปมา
เกาะที่กลางจั่ว หน้าบ้าน (กลางปั้นลม) ทำให้นกเหล่านั้นไม่มา ถ่าย
มูลรดหลังคาบ้านให้เป็นคราบน่าเกลียดจะทำความสะอาดก็ยากเย็น ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นสิ่งอัปมงคล 





วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


วัฒนธรรมและประเพณีไทย

ที่มาของวัฒนธรรมไทย


 สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากสังคมไทยมีลักษณะทางด้านภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มและอุดมสมบูรณ์ด้วยแม่น้ำลำคลอง คนไทยได้ใช้น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ในการเกษตรกรรมและการอาบ กิน เพราะฉะนั้นเมื่อถึงเวลาหน้าน้ำ คือ เพ็ญเดือน 11 และเพ็ญ เดือน 12 ซึ่งอยู่ในห้วงเวลาปลายเดือนตุลาคมและปลายเดือนพฤศจิกายน อันเป็นระยะเวลา ที่ น้ำไหลหลากมาจากทางภาคเหนือของประเทศ คนไทยจึงจัดทำกระทงพร้อม ด้วยธูปเทียนไปลอย ในแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษแม่คงคา และขอพรจากแม่คงคา เพราะได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ทำให้เกิด "ประเพณีลอยกระทง"   นอกจากนั้นยังมีประเพณีอื่น ๆ  อีกในส่วนที่เกี่ยวกับ แม่น้ำลำคลอง  เช่น     ประเพณีแข่งเรือ
            ระบบการเกษตรกรรม สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม (agrarian society) กล่าวคือ ประชากรร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตผูกพันกับระบบการเกษตรกรรม และระบบการเกษตรกรรมนี้เอง ได้เป็น ที่มาของวัฒนธรรมไทยหลายประการ เช่น ประเพณีขอฝน ประเพณีลงแขก และการละเล่น เต้นกำรำเคียว เป็นต้น
            ค่านิยม (Values) กล่าวได้ว่า "ค่านิยม" มีความเกี่ยวพันกับ วัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด และ "ค่านิยม" บางอย่างได้กลายมาเป็น "แกน" ของวัฒนธรรมไทยกล่าวคือ วิถีชีวิตของคนไทยโดยส่วนรวมมีเอกลักษณ์ซึ่งแสดงออกถึงอิสรภาพและเสรีภาพ
            การเผยแพร่ทางวัฒนธรรม (Cultural diffusion) วัฒนธรรมทาง หนึ่ง ย่อม แตกต่างไปจากวัฒนธรรมทางสังคมอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมมิได้เกิดขึ้นมาใน ภาชนะ ที่ถูกผนึกตราบเท่าที่มนุษย์ เช่น นักท่องเที่ยว พ่อค้า ทหาร หมอสอนศาสนา และผู้อพยพยังคง ย้ายถิ่นที่อยู่จากแห่งหนึ่งไปยังแห่งอื่น ๆ เขาเหล่านั้นมักนำวัฒนธรรมของพวกเขาติดตัว ไปด้วย เสมอ ซึ่งถือได้ว่า เป็นการเผยแพร่ทางวัฒนธรรม เป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วและกว้างขวาง ประจักษ์ พยานในเรื่องนี้จะเห็นได้ว่าน้ำอัดลมชื่อต่าง ๆ มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก
             ประเพณีไทยอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น   ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ   ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา
และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นทั่วแผ่นดินไทย   เช่น
         
             ประเพณีไทยอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น   ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ   ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา
และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นทั่วแผ่นดินไทย   เช่น
   
        ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร     
        ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
        ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น นอกจากนี้
 


ความสำคัญของวัฒนธรรม
        วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในความเป็นชาติ ชาติใดที่ไร้เสียซึ่งวัฒนธรรมอันเป็นของตนเองแล้ว ชาตินั้นจะคงความเป็นชาติอยู่ไม่ได้ ชาติที่ไร้วัฒนธรรม แม้จะเป็นผู้พิชิตในการสงคราม แต่ในที่สุดก็จะเป็นผู้ถูกพิชิตในด้านวัฒนธรรม ซึ่งนับว่าเป็นการถูกพิชิตอย่างราบคาบและสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ถูกพิชิตในทางวัฒนธรรมนั้นจะไม่รู้ตัวเลยว่าตนได้ถูกพิชิต เช่น พวกตาดที่พิชิตจีนได้ และตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นปกครองจีน แต่ในที่สุดถูกชาวจีนซึ่งมีวัฒนธรรมสูงกว่ากลืนจนเป็นชาวจีนไปหมดสิ้น
หน้าที่ของวัฒนธรรม
 วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน ซึ่งมีลักษณะแตกต่าง กันไปในแต่ละสังคม เช่น วัฒนธรรมอิสลามอนุญาตให้ชาย (ที่มีความสามารถเลี้ยงดูและ ให้ความ ยุติธรรมแก่ภรรยา) มีภรรยาได้มากกว่า 1 คน โดยไม่เกิด 4 คน แต่ห้ามสมสู่ ระหว่าง เพศเดียว กัน อย่างเด็ดขาด ในขณะที่ศาสนาอื่นอนุญาตให้ชายมีภรรยาได้เพียง 1 คน แต่ไม่มีบัญญัติห้าม ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน ฉะนั้นรูปแบบของสถาบันครอบครัวจึงอาจแตกต่างกันไป
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์  พฤติกรรมของคน จะเป็นเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมนั้น ๆ เช่น วัฒนธรรมในการพบปะทักทายของ ไทย ใช้ในการสวัสดีของชาวตะวันตกทั่วไปใช้ในการสัมผัสมือ ของชาวทิเบตใช้การแลบลิ้น ของชาว มุสลิมใช้การกล่าวสลาม เป็นต้น
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ควบคุมสังคม สร้างความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ให้แก่สังคม เพราะในวัฒนธรรมจะมีทั้งความศรัทธา  ความเชื่อ ค่านิยม บรรทัดฐาน เป็นต้น ตลอดจน ผลตอบแทนในการปฏิบัติและบทลงโทษเมื่อฝ่าฝืน 
ประเพณีไทย อารยธรรมไทย
        ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ประเพณีและอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่น นับเป็นมรดกอันลำค่าที่เรา ... คนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป
เรื่องน่ารู้ประเพณีและวัฒนธรรมไทย
มกราคม ฤดูเก็บเกี่ยว
เดือนยี่เมื่อการเก็บเกี่ยวข้าวในนาเเละนวดข้าวเสร็จสิ้นลง เกษตรกรชาวนาซึ่งทำงานหนัก เพราะต้องทำงานตรากตรำ กลางเเดดฝนอยู่ในโคลนตมเป็นเวลานานๆ เมื่อไถหว่านปักดำ จนต้นข้าวงอกงามเติบโตเเละออกรวง ได้เก็บเกี่ยวพืชผลที่ลงเเรงไว้ เมื่อนวดข้าวเเละเก็บข้าวขึ้นใส่ยุ้งฉางเรียบร้อยเเล้ว เสร็จสิ้น การทำงานอีกครั้งหนึ่ง ก็ร่วมกันทำบุญให้ทานเพื่อความเป็นสิริมงคล เเก่ตนเอง ครอบครัวเเละหมู่บ้าน